วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศ โดยให้บริการสินเชื่อ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนภายใน ให้สามารถบริการแก่สมาชิกได้มากขึ้นช่วยสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินของขบวนการสหกรณ์
คุณสมบัติผู้ใช้บริการ
1. เป็นสมาชิกชุมนุมสหกรณ์ฯ หรือสหกรณ์อื่น
2. เป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์สมาชิก (สก.1) หากไม่เป็นสมาชิกต้องจัดให้มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
3. มีการดำเนินธุรกิจสหกรณ์/กลุ่มฯ ได้มาตรฐานและมั่นคง
4. ไม่ค้างชำระค่าบำรุงและถือหุ้นตามข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์
ขั้นตอนการใช้บริการสินเชื่อ
1. ติดต่อสำนักงาน ช.ส.ค.สาขาในพื้นที่หรือ ช.ส.ค.สำนักงานใหญ่
2. จัดเตรียมเอกสารประกอบการขอใช้บริการสินเชื่อตามที่ ช.ส.ค.กำหนด
หลักประกัน (สำหรับสมาชิกเครดิตยูเนี่ยน)
1. กรณีที่มีคณะกรรมการดำเนินการค้ำประกันรับผิดเต็มจำนวน หรือมีหลักทรัพย์ เป็นประกันบางส่วน
ทุนเรือนหุ้น | วงเงินกู้สูงสุด |
---|---|
ก. ไม่เกิน 50 ล้านบาท | 1เท่าของทุนเรือนหุ้น แต่ไม่เกิน 40 ล้านบาท |
ข. ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป | 80% ของทุนเรือนหุ้นของผู้กู้ แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท |
*** ยกเว้น สินเชื่อเพื่อจัดจ้างผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ ไม่เกิน 1 เท่าของทุนเรือนหุ้นแต่ไม่เกิน 5 แสนบาท
2. จำนวนเงินกู้ทุกสัญญารวมกันเกินกว่าข้อ 1. ก,ข ให้คณะกรรมการดำเนินการค้ำประกันรับผิดเต็มจำนวน และจะต้องจัดให้มีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกันเงินกู้ให้เป็นไปดังนี้
- หลักทรัพย์อันปลอดจำนองรายอื่น นำมาจำนองเป็นประกันโดยจำนวนเงินกู้ต้องไม่เกิน 80% แห่งมูลค่าของหลักทรัพย์นั้น ***กรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างและนำมาคำนวณรวมเป็นหลักประกันเงินกู้ ผู้ขอกู้จะต้องจัดทำประกันวินาศภัยในวงเงินเท่ากับมูลค่าของสิ่งปลูกสร้างที่
นำมาจดทะเบียนจำนองโดยให้ ช.ส.ค.เป็นผู้รับผลประโยชน์ตลอดอายุสัญญาการกู้เงิน
- หลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกสารการฝากเงินในธนาคารหรือหลักทรัพย์ตามที่คณะกรรมการอำนวยการกำหนดเป็นหลักประกัน โดยจำนวนเงินกู้ต้องไม่เกิน 90% แห่งค่าของทรัพย์นั้น
- เอกสารการฝากเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินของชุมนุมสหกรณ์ซึ่งให้คิดเต็มมูลค่าแห่งตราสารนั้น
- หลักทรัพย์อื่นที่ไม่มีภาระผู้กพันใดๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร โดยจำนวนเงินกู้ต้องไม่เกิน 80% แห่งมูลค่าของทรัพย์นั้น
*** ยกเว้น เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องกู้ได้ไม่เกิน 1 เท่าของเงินหุ้นที่ผู้กู้ถือใน ช.ส.ค.
หลักประกัน (สำหรับสมาชิกสมทบองค์กรอื่น และสหกรณ์อื่น)
1. เงินกู้รวมกันไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้คณะกรรมการของผู้กู้ทั้งคณะค้ำประกันเงินกู้เต็มจำนวน หรือจัดหาหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ 2
2. เงินกู้เกินกว่าที่กำหนดในข้อ 1 ต้องมีหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็นหลักประกัน อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ 2
เอกสารประกอบการขอใช้บริการสินเชื่อ ช.ส.ค.
1. หนังสือขอกู้เงินถึง ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด
2. ใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์(กรณีเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน)
3. สำเนารายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินการ ที่อนุมัติให้กู้เงินในครั้งนี้
4. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ เรื่อง :-
- การกำหนดวงเงินกู้ยืมภายนอกประจำปี
- การเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการประจำปี
5. สำเนาหนังสือเห็นชอบวงเงินกู้ยืมภายนอกประจำปี จากนายทะเบียน
6. สำเนาระเบียบ และข้อกำหนดว่าด้วยการให้เงินกู้ของสหกรณ์/กลุ่ม
7. สำเนาข้อบังคับทั้งเล่มของสหกรณ์ (หรือหน้าที่ระบุที่ตั้ง,และลายมือชื่อผู้มีอำนาจกระทำการแทนสหกรณ์)
8. แบบบันทึกประวัติสมาชิกที่ขอกู้เงินและโครงการในครั้งนี้ (กรณีเป็นโครงการพิเศษต่างๆ)
9. งบดุล และงบกำไรขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงินประจำปีที่ผ่านมา และย้อนหลัง 2 ปี รวม 3 ปี (ถ่ายหน้ารายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานผลการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีทั้งชุดมาประกอบด้วย )
10. รายงานฐานะการเงินเดือนปัจจุบัน และย้อนหลัง 2 เดือน (รวม 3 เดือน)
11. - หนังสือสัญญากู้เงิน และหนังสือสัญญาค้ำประกันเงินกู้ อย่างละ 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ และสำเนาทะเบียนบ้านของคณะกรรมการดำเนินการทั้งคณะ
- หนังสือยินยอมให้ดำเนินการเกี่ยวกับเงินปันผล(ทั้งกลุ่มและสหกรณ์) อย่างละ 2 ฉบับ
เอกสารในข้อ 11 ทั้ง 3 ประเภท ให้ลงลายมือชื่อให้เหมือนกันทุกประเภท โดยลงลายมือชื่อต่อเจ้าหน้าที่ ช.ส.ค. เท่านั้น
12. สำเนาหลักทรัพย์(หน้า-หลัง) , ใบประเมินราคาที่ดินที่ออกโดยสำนักงานที่ดิน และเอกสารสำเนาบัตรประชาชน,สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของหลักทรัพย์และคู่สมรส(กรณีใช้ที่ดินค้ำประกัน)
13. สำเนาสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงินอื่นๆ(ในกรณีมีหนี้เงินกู้ภายนอกที่นอกเหนือ ช.ส.ค.)
14. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (หน้าที่ระบุชื่อบัญชี และเลขที่บัญชี)
15. รายงานการตรวจหลักทรัพย์ และสรุปรายละเอียดการตรวจหลักทรัพย์ (โดยเจ้าหน้าที่ช.ส.ค.)
หมายเหตุ : เอกสารประกอบสินเชื่อต้องลงนามรับรองสำเนาทุกรายการ