ประวัติสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย |
||
เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 คณะสงฆ์คณะเยซูอิตแห่งคาทอลิก จัดสัมมนาระดับชาติเรื่อง"การพัฒนาเครดิตยูเนี่ยน" ที่บ้านเซเวียร์ อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้แทนจากประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกงและไทย เครดิตยูเนี่ยนจึงได้เริ่มขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ปีนั้นเป็นต้นมา | ||
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507 บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ และนายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ ได้จัดตั้งสมาคม "ศูนย์กลางเทวา" ขึ้นที่สลัมห้วยขวาง เพื่ออบรมศึกษาผู้ใหญ่และช่วยคนยากจนโดยวิธีเครดิตยูเนี่ยน ขณะนั้นเครดิตยูเนี่ยน ได้เริ่มแพร่หลายไปมากแล้วในต่างประเทศ คุณพ่อ บอนแนงค์ ทราบดีถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลของวิธีการเครดิตยูเนี่ยน จึงได้ส่ง นายอัมพร วัฒนวงศ์ เจ้าหน้าที่ของสมาคมศูนย์กลางเทวา ไปศึกษางานพัฒนาและเครดิตยูเนี่ยน ณ สถาบันเซียร์โซลิน ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นเวลา 1 ปี ( พ.ศ.2507 – พ.ศ. 2508) จึงได้กลับมาจุดประกายเครดิตยูเนี่ยนขึ้น โดยพยายามชักชวนรวมกลุ่มคนในแนวคิดใหม่ของการพัฒนาวิธีการนี้ แก่ชาวบ้านในชุมชนที่ตั้งของสมาคม จนกระทั่งสามารถจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนขึ้นสำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2508 ด้วยจำนวนสมาชิกแรกเริ่ม 13 คน เงินทุนรวม 360 บาท โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” นับเป็นเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกในประเทศไทย จากนั้นเป็นต้นมา ขบวนการเครดิตยูเนี่ยนก็แพร่ขยายและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด เป็นศูนย์กลางของขบวนเครดิตยูเนี่ยน ในปัจจุบัน | ||
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์บิดาของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนไทย |
||
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ท่านเป็นชาวฝรั่งเศส และเป็นบาทหลวงในศาสนาคริสต์ นิกายโรมัน คาทอลิก ก่อนเข้ามาเมืองไทยท่านประจำอยู่ประเทศจีน ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะพลมารี ซึ่งเป็นกลุ่มกิจกรรมของศาสนาคริสต์ในประเทศจีน ซึ่งเป็นข้อห้ามจัดตั้งกลุ่มประชาชน ที่มีพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองอยู่ในสมัยนั้น ท่านจึงถูกจับและติดคุกนาน 3 ปี จากนั้นถูกขับไล่ให้ออกจากประเทศจีนในข้อหาเป็นขบถ ท่านได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทย และและทำงานอยู่กับคนยากจน ในสลัมต่างๆของกรุงเทพฯ ท่านทำงานกับทุกคนโดยไม่แบ่งชนชั้น วรรณะ และศาสนา | ||
บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ท่านได้ทุ่มเทชีวิตของท่าน ในการทำงานกับคนจน ท่านคิดเสมอว่าการให้ความช่วยเหลือ โดยที่ชาวบ้านในชุมชนคอยรับการช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นความคิด และปฏิบัติไม่ถูกต้อง เป็นการทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นคนมากกว่า ท่านจึงให้ชาวบ้านในชุมชนนั้นมารวมตัวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสอนให้รู้จักการเก็บออมเงิน เพื่อช่วยเหลือกันในรูปแบบเครดิตยูเนี่ยนกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกนี้ จึงเกิดขึ้นด้วยคนเพียง 13 คน เงินรวมกันครั้งแรก จำนวน 360 บาท ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ขบวนการเครดิตยูเนี่ยนใน เมืองไทยจึงกำหนดให้วันนี้ เป็นวัน “เครดิตยูเนี่ยนไทย” จึงนับได้ว่า บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ นั้นเป็นบิดาแห่งเครดิตยูเนี่ยนในเมืองไทย อย่างแท้จริง | ||
สลัมห้วยขวาง(ดินแดง-ประชาสงเคราะห์ ในปัจจุบัน)เป็นจุดกำเนิดของขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในเมืองไทย โดยหลังจากเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากคนทั่วไป บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ ได้ส่ง คุณอัมพร วัฒนวงศ์ ไปศึกษาในด้านของการพัฒนาคนและชุมชนที่ สถาบันเซียร์โซลิน มหาวิทยาลัยเซเวียร์ ประเทศฟิลิปปินส์ แผนกที่ศึกษานั้นสอนเรื่องการพัฒนาคนโดยวิธีการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณอัมพร ได้กลับมาทำงานกับคนในชุมชนสลัมห้วยขวางต่อไป |
||
เครดิตยูเนี่ยนคืออะไร |
||
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น และบุคคลเหล่านั้น มีความปรารถนาจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยวิธีการนำเงินของตนเองมาสะสมไว้เป็นกองทุน สมาชิกทุกๆ คนจะต้องสะสมเงินตามความสามารถของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอตามที่สหกรณ์กำหนด กองทุนที่สมาชิกช่วยกันสะสมนี้ก็จะมีเงินมากขึ้นสามารถจะให้สมาชิกที่มีความจำเป็นจะเดือดร้อนทางด้านการเงิน กู้ยืมไปบำบัดปัญหาและความเดือดร้อนเหล่านั้น พร้อมกับการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกแต่ละคน ก็จะสะสมเงินของตนไปในคราวเดียวกันด้วย เงินกู้ก็จะค่อยๆ หมดไป ในขณะที่เงินสะสมก็มีมากขึ้น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจึงเป็นสหกรณ์ที่มุ่งหวังในการให้สมาชิกช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บริหารโดยสมาชิกและการทำกิจการทุกอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิก | ||
สหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีภูมิลำเนาหรือประกอบอาชีพหลักหรือมีวงสัมพันธ์อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่ในเขตท้องที่ดำเนินงานของสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น และบุคคลเหล่านั้น มีความปรารถนาจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยวิธีการนำเงินของตนเองมาสะสมไว้เป็นกองทุน สมาชิกทุกๆ คนจะต้องสะสมเงินตามความสามารถของตนเองเป็นประจำและสม่ำเสมอตามที่สหกรณ์กำหนด กองทุนที่สมาชิกช่วยกันสะสมนี้ก็จะมีเงินมากขึ้นสามารถจะให้สมาชิกที่มีความจำเป็นจะเดือดร้อนทางด้านการเงิน กู้ยืมไปบำบัดปัญหาและความเดือดร้อนเหล่านั้น พร้อมกับการชำระคืนเงินกู้ของสมาชิกแต่ละคน ก็จะสะสมเงินของตนไปในคราวเดียวกันด้วย เงินกู้ก็จะค่อยๆ หมดไป ในขณะที่เงินสะสมก็มีมากขึ้น สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจึงเป็นสหกรณ์ที่มุ่งหวังในการให้สมาชิกช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บริหารโดยสมาชิกและการทำกิจการทุกอย่าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิก |