วิธีดำเนินการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
|
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมกลุ่มบุคคล
|
บุคคลที่จะรวมกลุ่มกันตั้งสหกรณ์ต้องมีลักษณะดังนี้ |
- เป็นบุคคลธรรมดาบรรลุนิติภาวะ
- มีจำนวนบุคคลไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน
- บุคคลที่มาร่วมกัน ควรมีอาชีพอย่างเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน มีปัญหาความเดือดร้อนทาง เศรษฐกิจหรือสังคมและต้องการร่วมมือกันแก้ไขปัญหานั้น โดยทำกิจกรรมเพื่อมุ่งให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน ตามประเภทของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
- ทุกคนต้องสมัครใจร่วมกันลงทุนด้วยวิธีการถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น
- ยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายและข้อบังคับที่พวกตนกำาหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดด้วย ความเสียสละ มีวินัยและซื่อสัตย์สุจริต
|
|
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมการขอจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์
|
เมื่อเกิดกลุ่มบุคคลแล้วให้กลุ่มบุคคลประชุมกัน เรียกว่า “การประชุมผู้ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์” เพื่อดำาเนินการดังนี้ |
|
- คัดเลือกบุคคลจากที่ประชุมนั้น จำานวนไม่น้อยกว่า 10 คน เป็นผู้แทนกลุ่มเพื่อดำาเนินการจดทะเบียนจัดตั้งสหกรณ์เรียกว่า“คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์”
- กำหนดชื่อสหกรณ์อย่างน้อย 3 ชื่อ เรียงลำาดับตามความต้องการ เพื่อนายทะเบียนสหกรณ์ ตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับชื่อสหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว
|
|
ขั้นตอนที่ 3 การจองชื่อ การประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์และผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์
|
1. การจองชื่อสหกรณ์เพื่อป้องกันการซ้ำซ้อนสามารถดำเนินการได้ 2 วิธีคือ |
- คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำาเนินการจองชื่อผ่าน Web Site (เมนูระบบจองชื่อสหกรณ์ Online) กรมส่งเสริมสหกรณ์ (www.cpd.go.th)
- จองชื่อสหกรณ์ให้สำานักงานสหกรณ์จังหวัดดำาเนินการตรวจสอบ
|
2. จัดประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์เพื่อดำเนินการ |
- พิจารณาเลือกประเภทที่จะจัดตั้งเป็นประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และกำหนด วัตถุประสงค์ของสหกรณ์ที่จะจัดตั้งขึ้น
- จัดทำาแผนดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์ที่จะจัดตั้ง โดยกำาหนด กิจกรรมให้สอดคล้องกับประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์
- จัดทำาบัญชีรายชื่อบุคคลที่ประสงค์จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ซึ่งต้องประกอบด้วยลำดับที่ ชื่อสกุล อายุ เลขหมายบัตรประจำาตัวประชาชน ที่อยู่ อาชีพ จำานวนหุ้นที่จะถือแรกตั้ง จำานวนเงินค่าหุ้นและลายมือชื่อผู้ซึ่ง จะเป็นสมาชิกสหกรณ์
- ร่างข้อบังคับสหกรณ์ (ขอรับฉบับร่างได้ที่สหกรณ์จังหวัดหรือ ช.ส.ค.)
- ในกรณีที่ผู้สมัครใช้บริการไม่มีสำานักงานเป็นของตนเอง ต้องอาศัยหรือเช่าเพื่อเป็น ที่ทำาการของกลุ่มฯคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องทำาหนังสือขออนุญาต ขอใช้สถานที่ต่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ใน สถานที่นั้น ๆ และต้องได้รับคำายินยอมอนุญาตให้ใช้สถานที่จากผู้ถือกรรมสิทธิ์นั้นด้วย เพื่อใช้เป็นเอกสาร ประกอบในการยื่นเรื่องขอจดทะเบียนสหกรณ์
|
3. จัดประชุมสมาชิกสหกรณ์ที่มีชื่อในบัญชีรายชื่อเรียกว่า “การประชุมผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์” เพื่อให้รับทราบชื่อสหกรณ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบแล้วจากนายทะเบียนสหกรณ์ การกำหนด ประเภทสหกรณ์ วัตถุประสงค์ แผนดำาเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์และร่วมกัน พิจารณาข้อบังคับของสหกรณ์เพื่อตกลงกันกำาหนดให้เป็นข้อบังคับสหกรณ์ |
|
ขั้นตอนที่ 4 การขอจดทะเบียนสหกรณ์
|
คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ดำาเนินการจัดทำาเอกสารเพื่อจดทะเบียนสหกรณ์ โดยยื่นเอกสารที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแห่งท้องที่ที่ตั้งสำนักงานสหกรณ์ เพื่อกลุ่มจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ ตรวจเอกสารหลักฐานวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และรายงานสหกรณ์จังหวัดในฐานะรองนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อรับจดทะเบียนสหกรณ์ |
|
ขั้นตอนที่ 5 การดำเนินการของสหกรณ์หลังจากได้รับจดทะเบียนสหกรณ์
|
- สหกรณ์ที่จดทะเบียนแล้วมีสถานภาพเป็นนิติบุคคล
- บุคคลตามบัญชีรายชื่อผู้ซึ่งจะเป็นสมาชิกสหกรณ์มีสถานภาพเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ นายทะเบียนสหกรณ์รับจดทะเบียนสหกรณ์ และได้ชำาระค่าหุ้น ค่าธรรมเนียมแรกเข้าตามจำานวนที่ กำาหนดครบถ้วนแล้ว
- เจ้าหน้าที่ของ ช.ส.ค.เข้าดำเนินการตรวจสอบรายการทางบัญชีของผู้สมัครใช้บริการที่ได้รับ การจดทะเบียนสหกรณ์เพื่อสรุปรายงานฐานะการเงิน และสอบทานหนี้กับสมาชิกทุกราย อันประกอบ ด้วยงบดุล งบกำาไรขาดทุน สิ้นสุด ณ วันก่อนวันที่ได้รับการจดทะเบียนสหกรณ์ เพื่อเตรียมการโอนบัญชี ตามคำแนะนำของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จากกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่จัดตั้งใหม่ เนื่องจากกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นการดำาเนินการกิจกรรมในรูปแบบของระบบสหกรณ์เครดิตยู เนี่ยนและเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องอยู่แล้ว
- คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ มีอำานาจหน้าที่และสิทธิเช่นเดียวกับคณะกรรมการดำาเนินการสหกรณ์ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำาเนินการตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 โดยคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์จะต้องมีการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการโอนกิจการทั้งปวง ไปยังสหกรณ์ เรียกว่า“การประชุมคณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการดำาเนินการ”
- คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ ดำาเนินกิจการสหกรณ์ได้ตามที่กำาหนดในข้อบังคับ
- คณะผู้จัดตั้งสหกรณ์ต้องจัดประชุมสมาชิกสหกรณ์เป็นการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายใน 90วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนสหกรณ์ เพื่อ
(1) เลือกตั้งคณะกรรมการดำาเนินการสหกรณ์
(2) เลือกตั้งคณะผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์
(3) อนุมัติแผนดำาเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือกิจกรรมของสหกรณ์และ
(4) มอบหมายงานทั้งปวงให้กับคณะกรรมการดำาเนินการสหกรณ์
-
สหกรณ์ที่ได้รับจดทะเบียนแล้วไม่เริ่มดำาเนินกิจการตามแผนดำาเนินการเกี่ยวกับธุรกิจหรือ กิจกรรมของสหกรณ์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียน นายทะเบียนสหกรณ์มีอำานาจสั่งเลิกสหกรณ์ได้
|
ขั้นตอนที่ 6 ในกรณีรับจดทะเบียนสหกรณ์
|
สหกรณ์จังหวัดดำเนินการจัดส่งเอกสารดังนี้ |
- แจ้งให้สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนรับทราบพร้อมกับ
(1) ข้อบังคับสหกรณ์ 1 เล่ม (เล่มต้นฉบับ)
(2) ใบสำาคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์ (ฉบับจริง)
- แจ้งสำานักจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์
- แจ้งสำานักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ หลังจากได้มีการดำาเนินการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ตามขั้นตอนที่ 1-6 แล้ว ถือได้ว่าผู้สมัครใช้บริการ ได้เป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน (นิติบุคคล) ตามกฎหมาย และในระหว่างนั้นทางกรมตรวจบัญชี สหกรณ์จะเข้าดำาเนินการตรวจสอบรายการบัญชี ที่โอนให้แก่กันระหว่างกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่จัดตั้งใหม่เพื่อความถูกต้องให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
|
|
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนจะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนอกจากชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด (ช.ส.ค.) เพื่อให้สหกรณ์มีการพัฒนาเจริญเติบโต มีการบริหารงานเพื่อมวลสมาชิกให้ได้ประโยชน์ สูงสุดตามอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์ ดังนี้ |
|
- กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย
|
|
|