ประวัติชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด |
|
เมื่อก่อนทางการ (นายทะเบียนสหกรณ์) ไม่ยอมรับว่า “กลุ่มออมทรัพย์พัฒนา”หรือกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ ดังนั้นจึงไม่ยอมจดทะเบียนให้กลุ่มดังกล่าวเป็นสหกรณ์ที่ถูกต้อง แต่นายประดิษฐ์ มัชฌิมา ผู้อำนวยการสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เห็นว่ากลุ่มดังกล่าวดำเนินการสมบูรณ์ถูกต้องตามลักษณะของสหกรณ์ทุกประการจึงควรจะได้รับการรับรองจากทางการว่าเป็นสหกรณ์โดยสมบูรณ์ด้วยการจดทะเบียนให้เป็นสหกรณ์ดังนั้นจึงได้หาทางช่วยเหลือโดยทำหนังสือติดต่อไปยัง ชุมนุมสหกรณ์แห่งสหรัฐอเมริกา CO - OPERATIVE LEAGUE OF USA. (CLUSA) ให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานของกลุ่มออมทรัพย์ฯ ดังกล่าว ซึ่งต่อมา CLUSA ได้ส่ง Prof. Memilland มาศึกษาร่วมกับ ส.ส.ท.เป็นเวลา 3 เดือน ในปี พ.ศ. 2519 แล้วทำรายงานเสนอ ส.ส.ท. ว่ากลุ่มต่างๆ ดังกล่าวเป็นสหกรณ์โดยสมบูรณ์ ทางการจึงควรจะจดทะเบียนให้เป็นสหกรณ์โดยถูกต้อง เพื่อจะได้ขยายกิจการและทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน และสังคมต่อไป ซึ่งนายประดิษฐ์ มัชฌิมา ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังสำนักงานนายทะเบียนสหกรณ์ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ให้ดำเนินการต่อไป เมื่อต้นปี พ.ศ. 2519 ซึ่งทางการก็ได้พิจารณา และดำเนินการจดทะเบียนให้ถูกต้องสมความมุ่งหมาย ในปี พ.ศ. 2521 |
|
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้ติดต่อมายังสันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย ให้ส่งผู้แทนของสันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนฯ คือ คุณอัมพร วัฒนวงศ์ และคุณสมบัติ นันทวิจิตร ไปพบกับ นายทะเบียน บริสุทธิ์ ผู้แทนของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทุกวันพุธเป็นเวลา 1 ปี เพื่อร่างข้อบังคับของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในการจดทะเบียนกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พุทธศักราช 2511 และสันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย ได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 56/2 หมู่ 3 ถนนรามคำแหง แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ 10240 ซึ่งเป็นที่ทำการหลังแรกโดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์การมีเซรีออร์ ประเทศเยอรมัน และจากสหกรณ์/กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ ส่วนที่ดินได้รับความอนุเคราะห์จาก นายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ มีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 56 ตารางวา และเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2520 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์สำนักงานแห่งใหม่ โดย นายอดุล นิยมวิภาต อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ในขณะนั้น เป็นประธานในพิธี |
|
วิวัฒนาการ ช.ส.ค. |
|
พ.ศ. 2505 |
องค์การเพื่อชีวิตและสังคมและเศรษฐกิจในเอเชีย ได้จัดให้มีการประชุมในหัวข้อเรื่อง “งานออมทรัพย์พัฒนา” ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในครั้งนั้นยังไม่ใช้คำว่า “เครดิตยูเนี่ยน” ใช้คำว่า “ออมทรัพย์พัฒนา” |
พ.ศ. 2506 | ผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก คณะเยซูอิส ได้จัดสัมมนาระดับชาติขึ้นที่บ้านเซเวียร์ ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในหัวข้อเรื่อง “การพัฒนาเครดิตยูเนี่ยน” มีผู้เข้าสัมมนาเป็นผู้แทนจากประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และประเทศไทย ในการสัมมนาครั้งนั้น คนไทยที่เข้าสัมมนาเริ่มรู้จักเครดิตยูเนี่ยนในเบื้องต้น |
พ.ศ. 2507 | บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงก์ ชาวฝรั่งเศส และนายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ นักพัฒนาในแหล่งสลัมดินแดง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมกันจัดตั้ง “สมาคมศูนย์กลางเทวา” ขึ้นเพื่อใช้เป็นที่อบรมให้ความรู้ด้านการพัฒนา และด้านการจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนให้กับคน ในสลัมดินแดง |
พ.ศ. 2508 | วันที่ 25 กรกฎาคม ผู้นำทั้ง 2 ท่าน ร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครในสลัมดินแดง ที่ใช้วิธีการเครดิตยูเนี่ยนเข้าไปพัฒนาคนในแหล่งสลัมดินแดงจนประสบผลสำเร็จ ได้ก่อตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนขึ้นที่สลัมดินแดง ซึ่งถือเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกในประเทศไทยชื่อ “กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” มีสมาชิกแรกตั้ง 13 คน มีเงินสะสมในครั้งแรก 230 บาท และค่าธรรมเนียมแรกเข้า 130 บาท รวมเป็นทุนดำเนินงานครั้งแรก 360 บาท |
พ.ศ. 2511 | สภาคาทอลิกสังคมสงเคราะห์ ซึ่งให้การสนับสนุนเครดิตยูเนี่ยนอยู่มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง มีหน้าที่ส่งเสริมขบวนการเครดิตยูเนี่ยนให้แพร่หลายและเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น เรียกว่า “คณะกรรมการเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย” |
พ.ศ. 2512 | วันที่ 12 สิงหาคม บรรดาอาสาสมัครมีความเชื่อมั่นว่า เครดิตยูเนี่ยน เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาคน เศรษฐกิจและสังคม ของประชาชนได้เป็นอย่างดี จึงได้เผยแพร่วิธีการเครดิตยูเนี่ยนไปสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และเมื่อมีกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นหลายแห่ง อาสาสมัครก็ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ในการเผยแพร่ จัดตั้ง และส่งเสริมงานเครดิตยูเนี่ยนใช้ชื่อว่า “ศูนย์กลางเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย” |
พ.ศ. 2515 | ผู้แทนเครดิตยูเนี่ยนทั่วประเทศ ได้จัดประชุมกันที่บ้านเซเวียร์ ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพฯ และได้มีมติจัดตั้ง “ชุมนุมกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาแห่งประเทศไทย” ขึ้นแทน “ศูนย์กลางเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย” |
พ.ศ. 2517 | วันที่ 20 – 21 เมษายน ผู้แทนกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนได้มีการประชุมกันที่ค่ายลูกเสือวชิราวุธ จังหวัดชลบุรี มติของผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ได้เปลี่ยนชื่อ “ชุมนุมกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาแห่งประเทศไทย” เป็น “สันนิบาตเครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย” ทำหน้าที่ในการเผยแพร่ ส่งเสริมขบวนการเครดิตยูเนี่ยนให้เจริญก้าวหน้า และอาสาสมัครมีแนวความคิดที่จะให้เครดิตยูเนี่ยนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล |
พ.ศ. 2521 | วันที่ 21 กันยายน นายทะเบียนสหกรณ์ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ประเภท สหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชน พ.ศ. 2521 จัดอยู่ในประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์แต่เพื่อแยกให้เห็นลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ที่จะจดทะเบียนตามระเบียบนี้กับสหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีอยู่เดิมตามลักษณะอาชีพ จึงให้สหกรณ์ใหม่นี้ชื่อว่า “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” โดยใช้เป็นคำนำหน้าชื่อของสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้น |
พ.ศ. 2522 | กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนที่ได้รับการจดทะเบียนตามระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ฯ เป็นแห่งแรก คือ “ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด” เมื่อ 1 มกราคม 2522 จากนั้นจึงมีกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนหลายกลุ่มจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ และในปีนี้เช่นกัน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้ประชุมจดทะเบียนชุมนุมระดับชาติใช้ชื่อว่า “ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด” หรือชื่อย่อว่า “ ช.ส.ค.” และได้รับการจดทะเบียนจากนายทะเบียนสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2522 เลขทะเบียน กพธ.27/2522 |
พ.ศ. 2537 |
ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด ได้มีการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการจัดตั้งชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด สาขาขึ้นในภูมิภาค เป็นการกระจายอำนาจการบริหารเพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจหรือกิจกรรมของชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด |
พ.ศ. 2543 | ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย จำกัด ได้ยกร่างข้อบังคับใหม่ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และได้รับการจดทะเบียนข้อบังคับใหม่ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2544 |
พ.ศ. 2548 | วันที่ 29 มิถุนายน 2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามในกฎกระทรวง “กำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. 2548” โดยให้แยกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนออกจากประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์มาเป็นสหกรณ์ประเภท “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 63 ก หน้า 1 วันที่ 4 สิงหาคม 2548 และนายทะเบียนสหกรณ์ได้กำหนดระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน พ.ศ. 2548 ประกาศ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ขึ้นเพื่อบังคับใช้และถือปฏิบัติเป็นต้นมา |
ปณิธาน |
|
สนับสนุน ส่งเสริมขบวนการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย โดยอาศัย ‘จิตตารมณ์’ อันประกอบด้วย สนใจ ห่วงใย แบ่งปัน และรับใช้ และ คุณธรรม 5 ประการอันได้แก่ ความซื่อสัตย์ เสียสละ รับผิดชอบ เห็นใจกัน และวางใจกัน เพื่อพัฒนา ‘คน’ ให้รู้จักช่วยเหลือซึ่งกัน และกันให้บรรลุความสมดุลทั้ง 3 ด้านคือ |
|
|
|
วิสัยทัศน์ |
|
ช.ส.ค.มั่นคง สมาชิกเข้มแข็ง บนจิตตารมณ์ คุณธรรม และธรรมาภิบาล ให้คนเครดิตยูเนี่ยนพึ่งตนเองได้ | |
พันธกิจ |
|
|